วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ทำไมเราชอบซื้อหุ้นขาลง

“กฎการลงทุนของ Jesse Livermore’’ “หมีใหญ่แห่งวอลสตรีท” ผู้ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นตำนานของนักเก็งกำไรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในโลก เขาทำกำไรกว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการ Short ดัชนีในช่วงวิกฤตปี 1929 กฎการลงทุนของเขาสรุปย่อๆ มีดังนี้

1.ซื้อหุ้นที่กำลังเป็นขาขึ้น และขายหุ้นที่กำลังเป็นขาลง

2.อย่าเทรดทุกวัน จงเข้าเทรดเมื่อตลาดหรือหุ้นเริ่มแสดงความชัดเจนว่าอยู่ในขาขึ้นหรือขาลง และเทรดไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดเท่านั้น

3.ใช้จุดวกกลับ หรือจุดกลับเทรนด์ (Pivot Points) ควบคู่ไปกับการเทรดของคุณเสมอ

4.เข้าเทรดหลังจากที่ตลาดหรือราคาหุ้นได้ยืนยันความคิดของคุณ และควรลงมืออย่างรวดเร็ว

5.การเทรดที่ได้กำไรให้ทำต่อไป ยุติการเทรดที่มีผลขาดทุน (Cut Losses Short)

6.ปิดการเทรดเมื่อเห็นชัดเจนว่าหุ้นที่คุณกำลังได้กำไรอยู่ เริ่มถึงจุดเปลี่ยนเทรนด์แล้ว

7.ไม่ว่าจะเทรดในอุตสาหกรรมไหนก็ตาม จงเลือกหุ้นนำตลาด (Leading Stock) หุ้นที่แสดงให้เห็นเทรนด์ที่แข็งแกร่งที่สุด

8.อย่าถัวเฉลี่ยหุ้นที่ขาดทุน (Never Average Losses)

9.รู้จักการบริหารจัดการเงิน เผื่อเงินสำรองให้ครอบคลุม Drawdown ที่รับได้เมื่อเขาขั้นวิกฤต รู้จักหยุดขาดทุน จงอย่า Over Trade หรือปล่อยให้ขาดทุนหนักจนให้ถูก Margin Call 

10.Long เมื่อหุ้นทำ New High และ Short เมื่อหุ้นทำ New Low

สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ข้อ 5 และข้อ 8 ซึ่งตรงกับพฤติกรรมแห่งความสำเร็จในการลงทุนตามรายงาน “การสำรวจพฤติกรรมของนักลงทุนบุคคลธรรมดาที่เน้นการลงทุนระยะสั้นในตลาดหุ้นไทย” ของตลาดหลักทรัพย์ปี 2553 ทำให้ผมมานั่งคิดว่าทำไมคนส่วนใหญ่ถึงชอบขายหุ้นที่กำลังเป็นขาขึ้น แต่ไม่ยอมขายหุ้นที่กำลังเป็นขาลง และกลับทำตรงข้าม คือ ถัวเฉลี่ยหุ้นที่ขาดทุนไปเสียอีก เข้าทำนองที่ว่า “ขายหมู ซื้อควายป่วย” 

เรื่องนี้ผมมองว่าเกิดจากพฤติกรรม 2 อย่างของคนเรา คือ 

Loss Aversion คือ การรู้สึกเจ็บปวดเมื่อขาดทุน เมื่อหุ้นกำลังขึ้นก็จะรีบขาย เพราะกลัวว่าถ้าไม่ขาย เกิดหุ้นตกลงมาจะขาดทุน แต่ขณะเดียวกันเมื่อหุ้นตก ก็ไม่ยอมขาย เพราะยอมรับความรู้สึกเจ็บปวดที่ขาดทุนไม่ได้ ก็ทนถือต่อไป คาดหวังว่าเมื่อมันตกได้ เดี๋ยวมันก็ขึ้นได้ (ก็มันเคยขึ้นมาแล้วนี่) 

Reference Point Bias คือ การที่คนเรามักกำหนดจุดอ้างอิงในการตัดสินใจเสมอไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ในตลาดหุ้นก็เหมือนกัน สมมติว่าเราสนใจซื้อหุ้นตัวหนึ่งเมื่อ 3 เดือนที่แล้วราคาอยู่ที่ 30 บาท ตอนนี้ราคาเป็น 60 บาท ถ้าเป็นคุณ คุณจะตัดสินใจอย่างไร ซื้อหรือรอให้หุ้นตกมาที่ 30 บาทก่อนค่อยซื้อ คนส่วนใหญ่จะมองว่าที่ราคา 60 บาท หุ้นแพงไปแล้ว เพราะจุดอ้างอิงของเขา คือ 30 บาท สมมติว่าคุณตัดสินใจที่จะรอ ปรากฏว่าผ่านไป 2 สัปดาห์หุ้นตัวนั้นไม่ตกกลับพุ่งขึ้นไปถึง 100 บาท แล้วต่อมาตกฮวบลงมาเหลือ 70 บาท ทั้งที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเลยทั้งภาวะตลาดและตัวหุ้น 

คราวนี้คุณจะตัดสินใจ อย่างไร ซื้อเลยเพราะมองว่าหุ้นถูกเมื่อเทียบกับที่เคยขึ้นไปถึง 100 บาท  หรือไม่ซื้อเพราะยังแพงอยู่เมื่อเทียบกับราคา 30 บาท ที่เราเคยมองไว้  แล้วคุณคิดว่าคนส่วนใหญ่ตัดสินใจอย่างไร ใช่ครับ คนส่วนใหญ่จะกลับ มองว่าหุ้นราคา 70 บาท ตอนนี้ถูกน่าซื้อ เมื่อเทียบกับ 60 บาท เมื่อ 2  สัปดาห์ก่อน ทั้งที่เป็นหุ้นตัวเดิม ทุกอย่างเหมือนเดิม ทำไมถึงเป็นเช่นนี้  เหตุผลก็เพราะการตัดสินใจของนักลงทุนมักจะขึ้นอยู่กับจุดอ้างอิง ในกรณี นี้ ราคาหุ้นที่เปลี่ยนไป เป็นจุดอ้างอิงในการตัดสินใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น 30, 60, 100, หรือ 70 บาท แต่จุดอ้างอิงที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจมาก
ที่สุด คือ จุดที่ใกล้ที่สุด ดังนั้นตอนที่หุ้นขึ้นจาก 30 บาท เป็น 60 บาท เราจึงมองว่าหุ้นแพง แต่ตอนที่หุ้นตกจาก 100 บาท เป็น 70 บาท เรากลับมองว่าหุ้นถูก เพราะเราเปลี่ยนจุดอ้างอิงจาก 30 บาท เป็น 100 บาทนั่นเอง เมื่อพฤติกรรมของคนเราเป็นอย่างนี้ จึงเป็นธรรมดาที่คนส่วนใหญ่ชอบซื้อหุ้นขาลง 

จะเห็นนะครับว่าอารมณ์มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงทุนของเรามากเหลือเกิน (ที่สำคัญทำให้เราล้มเหลวในการลงทุนด้วย เหมือนที่กูรูหลายท่านเตือน) เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว เราควรทำอย่างไร ตอบง่ายๆ คือ มีสติ ครับ พูดง่ายแต่ทำยาก เพราะนั่งดูหุ้นทุกวัน ก็มีโลภมีกลัวตามข่าวแต่ละวันอยู่แล้ว เดี๋ยวข่าวแบงก์ชาติออกมาตรการค่าเงินบ้างล่ะ ข่าววิกฤตยุโรปบ้างล่ะ ข่าวยุติ QE ของอเมริกาบ้างล่ะ แล้วทำอย่างไรดี 

ในกฎการลงทุนของ “Jesse Livermore” ก็บอกไว้แล้ว ในข้อ 2 อย่าเทรดทุกวัน จงเข้าเทรดเมื่อตลาดหรือหุ้นเริ่มแสดงความชัดเจนว่าอยู่ในขาขึ้นหรือขาลง และเทรดไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดเท่านั้น เพื่อไม่ให้อารมณ์ตลาดครอบงำเรา และข้อ 7 เลือกหุ้นดาวรุ่งเท่านั้น คือ ดูที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก ว่าหุ้นถูกหรือแพงเมื่อเทียบปัจจัยพื้นฐาน เราจะได้ไม่ติดกับอารมณ์เราเองไปเทียบกับราคาก่อนหน้า 

วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เตือนๆๆสำหรับผู้มีบัญชีออมทรัพย์ของทุกธนาคารและบัตร ATM ค่ะ

-- เตือนๆๆสำหรับผู้มีบัญชีออมทรัพย์ของทุกธนาคารและบัตรATMค่ะ ---
อัตราค่าธรรมเนียมรักษาบัญชี
(ในกรณีบัญชีไม่เคลื่อนไหว12เดือน)

                       บ./เดือน              ยอดคงเหลือขั้นต่ำ
กรุงไทย               50                          500        
กรุงเทพ                50                         2000
ไทยพาณิชย์          50                         2000.01
กสิกรไทย             50                         2000
ทหารไทย             50                         1000
กรุงศรี                  50                         2000.01
นครหลวง              50                           500
ธนชาต                 50                           500
ไทยธนาคาร          50                         1000  
ยูโอบี                   50                         2000
สแตนดาร์ด           100                        5000

ส่วนอัตราค่าธรรมเนียมในการใช้บัตรATMนี้ค่ะ

1.กสิกรไทย - แรกเข้า 100 รายปี 200
2.ไทยพาณิชย์ แรกเข้า 100 รายปี 200
3.กรุงเทพ แรกเข้า 100 รายปี 200
4.กรุงไทย แรกเข้า 100 รายปี 200
5.ออมสิน แรกเข้า 50 รายปี 100
6.ทหารไทย แรกเข้า 100 รายปี 200
7.ไทยธนาคาร แรกเข้า 50 รายปี 100
8.กรุงศรี แรกเข้า 100 รายปี 200


หากคิดต้องการถอนเงิน โดยจะไม่ใช้บัญชีนี้อีกต่อไปแล้ว....

ห้ามเบิกเงินแค่ที่มีในบัญชี ให้ใช้วิธี.... ไม่กรอกตัวเลข ... แต่..เขียน.. ปิดบัญชี
เพียงเท่านี้..ธนาคารต้องจ่ายดอกเบี้ยคุณ 6 เดือน

วิธีนี้..เป็นวิธีที่ธนาคารไม่พยายามบอกคนฝากเงิน เพราะธนาคารมันเสียเปรียบ...

แต่ต้องเป็นกรณีที่เป็นบัญชีออมทรัพย์นะ ถ้าเป็นบัญชี ฝากประจำเราจะไม่ได้ดอก เพราะถือว่าฝากไม่ครบตามกำหนด
แต่ถ้าบัญชีเงินฝากแบบออมทรัพย์ หรือที่เรียกว่า savings (สะสมทรัพย์)

ธนาคาร จะคิดดอกให้ทุวันตามยอดเงินที่มี...เข้าๆออก ครบ6 เดือนทีหนึ่งก็จะมีดอกเข้ามาให้ ดังนั้นถ้าใครปิดบัญชี เขาก็ต้องคิดดอกมาให้ด้วย

ส่วนมากจะไม่รู้ ก็จะถอนแค่จำนวนเงินที่มีในบัญชี แล้วก็ทิ้งสมุดไว้..ตรงนี้แหละที่ธนาคารได้กำไร
เพราะสมุดนั้นพอทิ้งไว้นานเกินก็จะปิดไปเอง

และเดี๋ยวนี้ธนาคารส่วนมากจะกำหนดให้ บัญชีต้องมีเงินเหลือติดอยู่
อย่างน้อยๆ 500 บาท หากขาดการเคลื่อนไหวนานเกิน 3-6 เดือน ก็จะเริ่มหักค่ารักษาบัญชี
รายละประมาณ 50 บาทหรือไงเนี่ยแหละ

ที่บอกนี่เป็นผลประโยชน์ของเราๆทั้งนั้น
แต่ส่วนมากมักจะไม่ชอบไปธนาคาร ถอนทางเอทีเอ็ม แล้วก็คิดว่าที่เหลือแค่เศษสตางค์ช่างมัน..
พอเราขาดการติดต่อธนาคาร เขาก็หักค่ารักษาบัญชี เงินไม่พอเขาก็ปิด บช เองตามกฎ

---จขกท พึ่งพาความรู้ความคิดเห็นในห้องนี้บ่อยๆเลยเอามาบอกให้เพือนๆชาวชายคาที่ยังไม่ทราบ เป็นการตอบแทน  เรื่องเล็กๆน้อยๆที่เป็นผลประโยชน์และไม่ควรมองข้ามนะคะ ขอบคุณค่ะ----

---จขกท.มีหลายบัญชีเพราะย้ายงานมาหลายที่ ส่วนใหญ่ก็เปิดเพราะเงินเดือนค่ะ บอกไว้ก่อน เดี๋ยวโดนแซว----

จากคุณ: Adenaline  @pantip.com
เขียนเมื่อ: 5 ก.พ. 53 13:25:02

ลักษณะที่ดี 9 ประการของ ?หุ้นพื้นฐานดี? ควรจะมีดังต่อไปนี้

ลักษณะที่ดี 9 ประการของ ?หุ้นพื้นฐานดี? ควรจะมีดังต่อไปนี้

1.มียอดขายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

หุ้นที่ดีควรจะมียอดขายที่เติบโตขึ้น ถ้าเติบโตเพิ่มขึ้นได้ทุกปีก็จะดีมาก แสดงให้เห็นว่า ธุรกิจนั้นมีการขยายตัว และสามารถแข่งขันในอุตสาหกรรมนั้นได้ ส่วนหุ้นที่มียอดขายสาละวันเตี้ยลงทุกปีทุกปี น่าจะเป็นหุ้นที่ควรหลีกเลี่ยง หมายถึงว่า กิจการนั้นกำลังถูกคู่แข่งแย่งตลาดสินค้าไป หรือไม่ธุรกิจหรืออุตสาหกรรมนั้นก็อาจจะอยู่ในข่ายอุตสาหกรรมตะวันตกดิน (sunset industry) หรือผู้บริหารมีปัญหาในการดำเนินกิจการ แต่ยอดขายเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอที่จะบอกได้ว่าหุ้นนั้นเป็นหุ้นพื้นฐานดีหรือไม่ ต้องใช้ปัจจัยอีกหลายอย่างในการวิเคราะห์ธุรกิจ ดังจะกล่าวต่อไป

2. มีการควบคุมต้นทุนการดำเนินงานที่ดี

บริษัทที่มีการควบคุมการดำเนินงานที่ดี เราสามารถตรวจสอบดูได้จากงบกำไรขาดทุน โดยสังเกตจากต้นทุนสินค้าและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ควรจะไปตามยอดขายของกิจการ ถ้ายอดขายสูงขึ้นค่าใช้จ่ายก็สามารถอนุโลมให้เพิ่มขึ้นได้ตามสัดส่วนยอดขายที่สูงขึ้น แต่ธุรกิจที่ยอดขายลดลงแต่ต้นทุน และค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น นักลงทุนควรจะระวังและถ้าเกิดขึ้นเป็นประจำควรตรวจสอบให้ดีก่อนลงทุนในบริษัทนั้น

3. ไม่ประสบปัญหาขาดทุน 

บริษัทที่ดีควรจะมีความสามารถในการทำกำไรอย่างสม่ำเสมอ บริษัทที่ประสบภาวะขาดทุน เป็นการแสดงให้เห็นถึงการขาดประสิทธิภาพของผู้บริหาร ถ้าขาดทุนตลอดปีหรือไม่ ก็ขาดทุนปีเว้นปี นักลงทุนควรเอาเวลาไปศึกษาธุรกิจอื่นจะดีกว่า ยกเว้นท่านที่ชอบลงทุนใน ?หุ้นฟื้นคืนชีพ? (Turnaround) ที่ขาดทุนมาหลายปีอยู่ดีๆ ก็กลับมาทำกำไรได้เป็นกอบเป็นกำ อันนี้ก็แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคน แต่สำหรับท่านที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการลงทุนมากนัก ควรหลีกเลี่ยงหุ้นที่มีผลดำเนินงานขาดทุนจะปลอดภัยกว่า

4. เงินทุนหมุนเวียนเป็นบวก (Positive Working Capital)

ธุรกิจที่ดีควรมีทรัพย์สินหมุนเวียนมากกว่าหนี้สินหมุนเวียน เพราะธุรกิจควรมีการเตรียมความพร้อมของเงินทุนระยะสั้นให้เพียงพอต่อการจ่ายคืนหนี้สินระยะสั้น มิฉะนั้นธุรกิจอาจจะมีปัญหาการเงินเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะบริษัทที่ทำการกู้ยืมระยะสั้นมาก อาจจะต้องสำรองเงินสดไว้พอสมควรทีเดียวสำหรับการจ่ายคืนหนี้ที่เรียกเก็บภายใน เวลาไม่นาน ยกเว้นธุรกิจบางประเภท เช่น ธุรกิจค้าปลีก หรือค้าส่ง ที่รับเงินจากการขายให้กับลูกค้าเป็นเงินสดแต่ได้เครดิตจากผู้ผลิตสินค้าเป็นเวลาหลายเดือนก่อนที่จะจ่ายเงิน ในกรณีนี้เงินทุนหมุนเวียนอาจจะติดลบได้ ซึ่งกลับกลายเป็นจุดแข็งสำหรับธุรกิจประเภทนี้เสียอีก เพราะแทนที่จะต้องมีเงินสำหรับของที่อยู่ในสต็อกกลับเป็นผู้ผลิตสินค้าที่จะต้องเป็นคนจ่ายเงินค่าสินค้าคงคลังแทน

5. มีหนี้ไม่มากหรือมีหนี้อยู่ในฐานะที่เหมาะสม

ตัวเลขคร่าวๆ ที่ใช้กันส่วนใหญ่ในการตรวจสอบสภาพหนี้สินของธุรกิจก็คือ ?อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน? (Debt/Equity Ratio) ธุรกิจที่มีหนี้สินต่อทุนสูง แสดงว่า มีการกู้ยืมหนี้ระยะยาวมาก และทำให้ธุรกิจนั้นมีความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจสูง อัตราหนี้สินต่อทุนที่พอเหมาะที่ใช้กันทั่วไปคือ น้อยกว่าหนึ่งเท่า หรือไม่เกินสองเท่า

6. มีกำไรสะสม (Retain Earning) เพิ่มขึ้นทุกปี

ธุรกิจที่ดีควรมีกำไรสะสมเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ และสามารถนำกำไรสะสมนั้นไปลงทุนต่อให้งอกเงยเพิ่มมากขึ้นจากเดิม ธุรกิจที่มีกำไรสะสมลดลง นักลงทุนควรตั้งคำถามก่อนที่จะลงทุนในบริษัทนั้นว่า บริษัทนำกำไรสะสมนั้นไปใช้ ทำอะไรและมีประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นหรือไม่

7. มีส่วนของผู้ถือหุ้น (Shareholder Equity) เพิ่มขึ้นสม่ำเสมอ

บริษัทที่สามารถเพิ่มส่วนของผู้ถือหุ้นได้อย่างสม่ำเสมอนับว่า เป็นธุรกิจที่น่าสนใจ แสดงให้เห็นถึงความสามารถของผู้บริหารในการนำเงินของบริษัทไปลงทุนในกิจการที่มีประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น ควรหลีกเลี่ยงบริษัทที่มีส่วนผู้ถือหุ้นลดลงหรือติดลบ แสดงว่า ธุรกิจนั้นที่ผ่านมามีการขาดทุนเกิดขึ้น

8. กำไรต่อยอดขาย (Profit Margin) มากพอสมควร

ธุรกิจที่มีกำไรต่อยอดขายสูง แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการควบคุมต้นทุนของกิจการในระดับที่ดี แต่กำไรต่อยอดขายสูง อาจจะดึงดูดให้คู่แข่งหน้าใหม่ๆเข้ามาในอุตสาหกรรมนั้นมากขึ้น ในขณะที่ธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมมีการแข่งขันสูงส่วนมากจะมีกำไรต่อยอดขายต่ำ เพราะมีการตัดราคาสินค้าเพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาซื้อสินค้าและบริการของตน ทำให้กำไรของทั้งอุตสาหกรรมลดลง ดังนั้น ธุรกิจที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูงก็คือ ธุรกิจที่มีต้นทุนในการดำเนินงานต่ำ (Cost Leadership)

9. ผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น (Return on Equity) สูง

ผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น คำนวณจาก กำไรหารด้วยส่วนผู้ถือหุ้น (Net Profit/ Equity) ธุรกิจที่มีผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นสูงแสดงว่า ผู้บริหารสามารถบริหารเงินทุนของบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่บางธุรกิจที่มีเงินกู้ยืมสูงก็อาจจะทำให้ผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นสูงขึ้นได้ เพราะเงินลงทุนส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของหนี้สินระยะยาวมากกว่าส่วนผู้ถือหุ้น ดังนั้น ในบางกรณีอาจจะจำเป็นต้องใช้อัตราส่วนผลตอบแทนต่อเงินลงทุน (Return on Total Capital) ในการตรวจสอบความสามารถในการดำเนินงานของธุรกิจนั้น จะเหมาะสมมากขึ้น เนื่องจากได้รวมส่วนหนี้สินระยะยาวในการคำนวณไว้ด้วย

ผลตอบแทนต่อเงินลงทุน หาได้จากกำไรหารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้นและหนี้สินระยะยาว (Net Profit/(Longterm Liability+Equity)) บริษัทที่มีผลตอบแทนต่อเงินลงทุนสูง จะน่าสนใจกว่าบริษัทที่มีอัตราส่วนนี้ต่ำ

การค้นหาลักษณะที่ดี 9 ประการข้างต้นของหุ้นที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ จะช่วยให้ท่านมีความรู้ความเข้าใจในหุ้นที่ท่านลงทุนมากขึ้น แทนที่จะรอให้คนอื่นหรือนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ตามโบรกเกอร์ต่างๆ มาแนะนำ ?หุ้นพื้นฐานดี? ให้กับท่าน

ท่านสามารถที่จะเริ่มศึกษาและค้นหา ?หุ้นพื้นฐานดี? ได้ด้วยตัวท่านเอง ซึ่งนับว่าเป็นหนทางในการเป็น ?นักลงทุนแบบเน้นคุณค่า? หรือ Value Investor ที่ดีทางหนึ่ง



http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=17997

วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ลดทุน/ลดพาร์ แตก พาร์ คืออะไร

A. จุดประสงค์การลดทุน(ไม่ลดจำนวนหุ้น)ทำเพื่อล้างหรือลดขาดทุนสะสมจะกระทบรายการบัญชีใ​นส่วนผู้ถือหุ้น (Equity) ในงบดุล เป็นการปรับตัวเลขบัญชีให้ตรงกับความเป็นจริง (ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับงบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด) บัญชีที่เกี่ยวข้องมีดังนี้

ทุนจดทะเบียน - หุ้นสามัญ 
ทุนที่ออกและชำระแล้ว - หุ้นสามัญ 
ส่วนเกินทุน (ขายหุ้นสูงกว่าราคาพาร์) 
ส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้น (ขายหุ้นต่ำกว่าราคาพาร์)
กำไรสะสม - ยังไม่ได้จัดสรร 
รวมส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทใหญ่ 

B. ตัวอย่าง ในปี 2546 บริษัท xyz ได้จดทะเบียนเงินทุน 10,000.00 บาท โดยออกหุ้น 1,000 หุ้นๆละ 10.00 บาท ขายหุ้นหมดได้รับเงินมาเรียบร้อย ระหว่างดำเนินงานของปีมีกำไร 1,000.00 บาท สิ้นปีงบดุลย์แสดง 
(๑) เงินทุน 10,000.00 บาท 
(๒) กำไรสะสม 1,000.00 บาท 
(๓) สัดส่วนผู้ถือหุ้นเพิ่มเป็น 11,000.00 บาท หรือ มูลค่าทางบัญชี 11.00 บาทต่อหุ้น 

B.1 ในปี 2547 กิจการขาดทุน 2,000.00 บาท สิ้นปีงบดุลย์แสดง 
(๔)เงินทุน 10,000.00 บาท 
(๕) กำไรสะสมปีที่แล้วกลับมาเป็น ขาดทุนสะสม -1,000.00 บาท 
(๖) สัดส่วนผู้ถือหุ้นเพิ่มเป็น 9,000.00 บาทลดลง หรือ มูลค่าทางบัญชี 9.00 บาทต่อหุ้น นั้นหมายถึงว่าเงินที่ลงไป 10.00 บาท เหลือ 9.00 บาท 

B.2 ในปีต่อๆมา กิจการขาดทุนเพิ่มอีก 7,000.00 บาท งบดุลย์แสดง 
(๗)เงินทุน 10,000.00 บาท 
(๘) ขาดทุนสะสม -8,000.00 บาท เพิ่มขึ้น 
(๙) สัดส่วนผู้ถือหุ้นเพิ่มเป็น 2,000.00 บาทลดลง หรือ มูลค่าทางบัญชี 2.00 บาทต่อหุ้น นั้นหมายถึงว่าเงินที่ลงไป 10.00 บาท เหลือ 2.00 บาท 

B.3 บรัษัทต้องการล้างหรือลดขาดทุนสะสมเพือสะส้างปรับบัญชีให้ตรงความเป็นจริง ในเมื่อทุนที่ลงไป 10.00 บาทหายไปแทบหมดเหลือเพียง 2.00 บาท บริษัทขอลดทุนจดทะเบียนเป็น 2,000 บาท พาร์ 2.00 บาทโดยไม่ลดจำนวนหุ้น 1,000 หุ้น งบดุลย์แสดง 
(๑๐) เงินทุน 2,000.00 บาท 
(๑๑) ส่วนเกินขายหุ้นสูงกว่าพาร์ 8,00.00 บาท 
(๑๒) ขาดทุนสะสม -8,000.00 บาท 
(๑๓) สัดส่วนผู้ถือหุ้น 2,000.00 บาทเท่ากับทุนจดทะเบียน หรือ มูลค่าทางบัญชี 2.00 บาทต่อหุ้น เป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่ 
(๑๔) บริษัทสามารถขออนุมัติจาก กลต หรือ ตลท แล้วแต่กรณี นำ ข้อ (๑๑) มาล้างขาดทุนสะสมในข้อ (๑๒) หมดไปได้จะทำให้บริษัทสามารถจ่ายปันผลได้ 

C. บริษัทสามารถขอแตกพาร์จาก 2.00 บาท เป็น 1.00 บาท โดยขอเปลี่ยนทุนจดทะเบียนส่วนราคาพาร์และจำนวนหุ้นเพิ่มเป็น 2,000 หุ้น จำนวนเงินไม่เปลียนแปลง 2,000 บาทที่เหลืออยู่

D. หลังจากปรับตัวเลขตรงความเป็นจริง บริษัทสามารถหาผู้มาร่วมทุน บริษัทขอจดทะเบียนเพิ่มทุนเป็น 10,000 บาท ราคาพาร์ 1.00 บาท จำนวนหุ้น 10,000 หุ้น หุ้นที่เพิ่มขึ้น 8,000 หุ้น (จาก ข้อ C) นำออกขายที่ราคาเท่าไร(ส่วนใหญ่ไม่ต่ำกว่าราคาพาร์)ก็แล้วแต่ผู้บริหาร เงินที่ได้มาก็จะเพิ่มกระแสเงินสด 

E. ลดทุน แตกพาร์ เพิ่มทุน บริษัทจะเลือกวิธีหนึ่งวิธีใด หรือสองใด หรือทั้งสามวิธีพร้อมๆกัน เช่น nwr ได้ทำมาแล้วเมื่อเร็วๆนี้ที่ผ่านมา 

F. ลดหรือล้างขาดทุนสะสมได้ดังนี้ (๑) ลดทุนจดทะเบียน (๒) เพิ่มทุนขายหุ้นใหม่เกินราคาพาร์ สามารถขออนุมัติเอาส่วนเกินมูลค่าราคาพาร์มาลดหรือล้างขาดทุนสะสม แต่ว่าถ้ามี "ส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้น (ขายหุ้นต่ำกว่าราคาพาร์ในอดีต)" ต้องนำส่วนเกินไปล้างให้หมดก่อนส่วนเหลือนำมาล้างขาดทุนสะสม (๓) กำไรจากผลประกอบการ (๔) กู้เงินมามันก็เป็นเงินคนอื่นไม่ใช่เงินของบริษัทจะนำไปลดหรือล้างขาดทุนสะสมไม่ได้ ย้ำ ไม่ได้


ลดทุน/ลดพาร์ = บริษัทที่ค้าขายขาดทุนนั่นแหละ

แตกพาร์ = บริษัทที่ต้องการเพิ่มสภาพคล่องในการซื้อขายหุ้นของตัวเอง 

แตกพาร์ มักจะเป็นกระบวนการตรงกันข้ามกับ ลดพาร์ครับ ลดพาร์เพราะกิจการขาดทุนต้องลดค่าพาร์ให้เหมาะสมค่าค่าทางบัญชี ไม่งั้นไม่มีใครเข้าร่วมหุ้นเพิ่มด้วยส่วนแตกพาร์เพราะราคาหุ้นทางบัญชีเพิ่มสูงมากจ​นไม่มีใครอยากซื้อขาย จึงแตกพาร์ หรือแบ่งหุ้นออกเป็น หลายๆส่วนเท่าๆกัน เช่น 10 ส่วน ก็ทำให้ราคาหุ้นที่เคยพุ่งสูงสัก 300 บาท ลดลงมาเป็นแค่ 30 บาท เมื่อมองเทียบกับหุ้นตัวอื่นๆ ก็ดูไม่แพง น่าซื้อเหมือนเดิม แต่ถ้าหากมองค่า p/e แล้ว ก็ลดลงตามส่วนที่แบ่งพาร์ออกไปเช่นกันครับ (ที่จริงก็เป็นการแบ่งหุ้น หรือเพิ่มจำนวนหุ้น แต่เวลาเรียก ดันไปผูกกับค่าหุ้นแรกเริ่มเข้าตลาดหลักทรัพย์ คือ ค่าพาร์ ที่นิยม 10บาท/ หุ้น พอแตกหุ้นเป็น หลายๆส่วน ค่าพาร์ก็ลดตามจำนวนส่วนที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง และนั่นก็มีผลต่อค่าทางบัญชีไปด้วย เพราะจำนวนหุ้นที่นำมาหารค่าทุน มันเพิ่มขึ้นด้วย ส่วนราคาหุ้นในตลาดก็ขึ้นอยู่กับ ความพอใจของของผู้ซื้อขายกันครับ แต่ทางปฏิบัติเมื่อมีการแตกพาร์ ก็จะมีการแจ้งจากบริษัทไปยังผู้ถือหุ้นว่ามีการแตกพาร์แล้วเท่าใด ทำให้ราคาหุ้นเดิมลดลงและจำนวนหุ้นที่แต่ละคนถือก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ราคาซื้อขายก็เลยลดลงไปตามส่วนครับ)
อ้อ..ลืมบอกไปว่า ทำไมราคาหุ้นทางบัญชีเพิ่มขึ้นเพราะบริษัทมีกำไรครับ เลยทำให้มูลค่าสินทรัพย์หรือทุนเพิ่มขึ้น อีกนัยหนึ่งก็คือไม่เอากำไรไปจ่ายปันผลให้หมด บางส่วน(ส่วนใหญ่)ก็นำกลับมาเก็บไว้เป็นทุนครับ เลยทำให้มูลค่าหุ้นทางบัญชีเพิ่มขึ้นครับ


ที่มองๆ ขำขำ ว่าหุ้นมันจะเริ่มแตกแพร์ "ตอนนี้ เริ่มๆแล้วนะ" ...ยกตัวอย่าง PTT ราคา 400 ที่ PAR 10 บาท ..ถ้าแตกเหลือ PAR 1 บาท ก็เหลือแค่ 40 บาทต่อหุ้น (แต่นี่ยกตัวอย่าง เพราะหุ้นใหญ่ๆ เขาไม่ค่อยชอบแตกพาร์ ยกเว้นราคามันแพงไปจริงๆ ถึงต้องแตก..ไม่งั้นจะเป็นแบบหุ้นของ Berkshire บริษัทของ ป๋า Warren Buffett แต่ละหุ้นราคาเท่าบ้าน!!)

ข้อดีของการแตกพาร์ คือ "หุ้นเล็กลง จำนวนเพิ่มขึ้น ... คนก็มักจะเข้ามามากขึ้น โดยเฉพาะรายย่อย -- ดู BANPU ซิ ตอนนี้ 700 กว่า ถ้าแตกพาร์ ก็เหลือ 70 บาท ..คุณว่ารายย่อยจะกระโดดมาซื้อไหม -- ฮึม!! ถูกมาก" ...นี่แหละผมถึงบอกว่า ดูราคาหุ้นถูกแพงต้งดูที่ P/E , P/BV , เงินปันผล และถ้าชำเลืองดู PAR ด้วยก็จะดี

สิ่งที่เกิดในช่วง Asian Miracle ครั้งที่แล้ว ก็คือ การแตกพาร์ครั้งใหญ่ของตลาดหุ้น จาก PAR 100 มาเป็น PAR 10 บาท (ส่วนใหญ่ แต่บางบริษัทก็แตกย่อยกว่านั้น ...นั่นแหละเตรียม นักปั่นจักรยานเข้ามา โซโลกันนัวล่ะ พี่ครับ จ๊าก!!) .... มาเที่ยวนี้ Asian Miracle 2 ที่กำลังก่อตัวอยู่ในขณะนี้ ก็น่าจะเป็น Trend สำหรับแตกพาร์ จาก 10 บาท ไปเป็น 1 บาท ... (ไม่ต้องแปลกใจหรอกครับ ในที่สุดก็ต้องทำ เพราะ รายย่อยไม่รู้เรื่องนึกว่าหุ้น อย่าง PTT โอ้แพงๆ แล้วคุณแบบ 3 บาท อู้ถูก !! -- นี่แหละสาเหตที่เขาต้องแตกพาร์ !!)

ก็ลุ้นกันต่อไป ..แต่บริษัทเล็กๆ ก็คงแตกก่อน ... "ใครแตกก็แสดงว่า เขาต้องการให้เกิดสภาพคล่องในหุ้น เล็กลงคนจะได้ Trade มากขึ้น ..เมื่อคนเทรดมากขึ้น --อ่าฮ้า!! Demand มาก ราคาหุ้นก็.... ใช่ไหมครับ!!" (ไม่มีใครทำอะไรโดยไม่มีเหตุผลหรอก)

ตอนนี้ในตลาดก็จะเริ่มจากหุ้นพวกที่อยากให้คล่องๆ แตกพาร์ก่อน ... จากนั้นก็จะมีหุ้นกากๆ ที่ผมมองว่า ยังไงเจ้าของต้องเอาขึ้นแน่รอบนี้ แต่เราไม่รู้ว่า เมื่อไหร่ หรือตัวไหน (ต้องเสี่ยงเอง..ฮ่า ฮ่า) .... ส่วนหุ้นใหญ่ๆ ของแตกพาร์ แต่คงจะไปแตกแถวตลาดใกล้ๆ Peak นุ่นน่ะ มันจะได้เป็น Bubble และก็ หมุนเวียนไป เช่นนี้เป็น Cycle เป็นรอบ เป็นวัฎจักร

"สัจธรรมของความรวย ... หมุนไปเป็นรอบๆ ไปถูกทางก็รวย แค่นั้นเองครับ" ....



http://forums.naiwaen.com/thread-976.html

หุ้น แนวรับ แนวต้าน หมายถึงอะไร

แนวรับ (Support)

แนวรับ หมายถึง จุดที่หุ้นมีปริมาณซื้อขายมากเพียงพอที่จะหยุดไม่ให้หุ้นตกต่อไปได้

สิ่งที่พิจารณา คือ

1. ปริมาณซื้อขายมากเพียงพอ หมายถึง ขณะที่หุ้นตกมาเรื่อย ๆ ถึงจุดหนึ่ง หุ้นก็เกิดมีปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ พร้อมกับหุ้นหยุดตกในวันนั้น

2. หุ้นไม่ตกต่อไป หมายถึง เมื่อถึงข้อ 1 แล้ว ถ้าหุ้นขึ้นไปและตกลงมาอีกที่จุดนี้ ปริมาณการซื้อขายจะลดลงน้อยกว่าครั้งก่อนมาก เป็นการยืนยันข้อ 1 ว่าเป็นจุดแนวรับจริง

ในการเล่นหุ้น หุ้นตัวใดตกลงมาเรื่อย ๆ พร้อมกับปริมาณการซื้อขายที่ลดลงเรื่อย ๆ ด้วย แสดงว่ายังไม่เจอแนวรับ  เมื่อใดตกไปถึงจุดที่ volume

เพิ่มขึ้นมามาก ตรงนั้นน่าจะเป็นแนวรับ ยืนยันอีกครั้งโดย ถ้าตกกลับมาอีก คนจะไม่ยอมขายตรงจุดนี้ ทำให้ volumn ครั้ง 2 ลดลงมาก นั่นคือแนวรับ



แนวต้าน (Resistance)

แนวต้าน หมายถึง จุดที่หุ้นมีปริมาณการซื้อขายเพียงพอที่หยุดไม่ให้หุ้นขึ้นอีกต่อไป

สิ่งที่พิจารณาคือ

1. ปริมาณการซื้อขายที่เพียงพอ หมายถึง เมื่อหุ้นกำลังขึ้นไปเรื่อย ๆ ถึงจุดหนึ่ง หุ้นจะมี volumn สูงมากจนหุ้นไม่ขึ้นอีกต่อไป และตกกลับ
เรียกว่า ปรากฏการณ์ high price high volumn นั่นเอง

2. การยืนยันไม่ขึ้น หมายถึง เมื่อหุ้นขึ้นไปหาจุดนั้นอีกครั้ง volumn กลับน้อยลงน้อยกว่าครั้งก่อน แสดงว่าเป็นแนวต้านจริง


การหาจุดที่น่าจะเป็นแนวรับแนวต้าน

วิธีการหาจุดอย่างง่าย ๆ ที่น่าจะเป็นแนวรับและแนวต้าน มีหลักการดังนี้

1. จุดสูงสุดและต่ำสุดเก่า เป็นจุดที่นักลงทุนใช้เป็นข้อมูลดูว่า พวกเขาควรจะซื้อและขายบริเวณนี้

2. จุดที่ราคาเป็นเลขจำนวนถ้วน ๆ เช่น แนวต้านที่ราคา 40 บาท หรือ 100 บาท หรือดัชนี 1100 จุดเป็นแนวต้าน เป็นต้น

3. จุดทางจิตวิทยาที่แข็งแกร่ง ได้แก่ จุดที่หุ้นเปิดช่องว่าง (gap) ไว้ก่อนหน้านี้ เช่น หุ้นปิดเมื่อวานราคา 40 บาท

    เปิดวันนี้ 41 แล้วขึ้นไป จุดราคา 41 จะเป็นแนวรับทันที หุ้นขาลงก็เช่นเดียวกัน

4. จุดที่แนวค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่พาดผ่านไป เป็นได้ทั้งแนวรับและแนวต้าน

5. จุดที่ราคาตกลงมาพัก (retracement) เช่น Fibonacci คือหุ้นขึ้นไป แล้วพักตัวลงจากจุดสูงสุด เป็น 1/3, 1/2, 2/3 ของราคาสูงสุดถึงต่ำสุด เป็นต้น
   
    เช่น หุ้นขึ้นจากราคา 40 ไปถึง 60 จะตกลงมาพักที่ราคา 53, 50, 46 แล้วขึ้น เป็นต้น


นัยสำคัญของแนวรับแนวต้าน

เมื่อสามารถหาจุดที่น่าจะเป็นแนวรับ แนวต้านได้แล้ว วิธีการที่จะดูว่าแนวนั้น น่าเชื่อถือเพียงใด มีหลักการดังนี้

1. จุดนั้น ถ้าปริมาณการซื้อขายมากเพียงใดก็ยิ่งน่าเชื่อถือมากตามด้วย

2. จุดนั้นเป็นจุดที่หยุดหุ้นที่ขึ้นหรือลงมาอย่างแรงเพียงใด ก็น่าเชื่อถือมากตามด้วย เช่น หุ้นขึ้นมาอย่างแรงมาก 

    เช่น ขึ้นมา 50% รวดเดียว ถ้าไปเจอจุดที่หยุดการขึ้นได้ทันที ก็น่าเชื่อได้เป็นแนวต้านที่แข็งแกร่ง

3. จุดอ้างอิง ถ้ายิ่งใกล้จะยิ่งน่าเชื่อถือมากกว่า เช่นจุดสูงสุดเมื่อ 1 ปีก่อนที่ราคา 40 บาท และจุดสูงสุดเมื่อ 6 เดือนก่อนที่ 38

    จะได้ว่า 38 เป็นแนวต้านที่น่าเชื่อถือมากกว่า

ข้อมูลอ้างอิงจาก ดร.ธี ..

กำไรต่อหุ้น (Earning per Share)

ความหมายของ “กำไรต่อหุ้น”

คำว่า “กำไรต่อหุ้น ” หมายความว่าอย่างไร? EPS คืออะไร? กำไรต่อหุ้น (Earning per Share หรือ EPS) คืออัตราส่วนกำไรสุทธิต่อหุ้นหรือส่วนกำไรสุทธิแบ่งเฉลี่ยให้แก่หุ้นสามัญแต่ละหุ้นของบริษัท แสดงให้เห็นถึงกำไรของบริษัทเมื่อเทียบกับจำนวนหุ้นทั้งหมด สามารถคำนวณได้โดยการนำกำไรสุทธิรอบ 12 เดือนล่าสุดเป็นตัวตั้งแล้วหารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้น ใช้สูตรเบื้องต้นดังต่อไปนี้:
กำไรต่อหุ้น = กำไรสุทธิ / จำนวนหุ้นของบริษัทที่ชำระแล้ว
Earnings Per Share (EPS) = Net income / Outstanding Shares
จุดประสงค์หลัก ๆ ของการซื้อหุ้นคือเพื่อรับปันผลหรือเอา Capital Gain ซึ่งกำไรต่อหุ้นหรือ EPSเป็นหนึ่งในตัววัดที่มีความสำคัญ เพราะปันผลและ Capital Gain ได้รับผลกระทบโดยตรงจากกำไรของบริษัท บริษัทมหาชนในเกือบทุกประเทศจำเป็นต้องรายงาน Earning per Share ในงบกำไรขาดทุน
หลักการตีความจาก EPS นั้นไม่ตายตัว แต่โดยทั่วไปแล้วยิ่งเยอะเท่าไหร่ก็ยิ่งดี EPS เยอะหมายความว่าบริษัทมีกำไรมาก มีการเงินที่แข็งแรงมั่นคง จึงเป็นบริษัทที่น่าเชื่อถือสำหรับการลงทุน ในส่วนของการวิเคราะห์อาจดู EPS ย้อนหลังและเปรียบเทียบกับบริษัทที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจเดียวกัน อย่างไรก็ตาม การดูเพียงแค่ EPS อย่างเดียวคงไม่สะท้อนถึงแง่มุมต่าง ๆ ของบริษัทออกมาทั้งหมดเช่น สองบริษัทมี EPS ที่เท่ากันแต่อีกบริษัทใช้ต้นทุนน้อยกว่า อาจตีความได้ว่าสามารถใช้เงินลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเป็นต้น
ยกตัวอย่าง: บริษัท A มี 10 หุ้นและกำไรสุทธิ 1 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้นหรือ EPS ก็จะเท่ากับ 1 แสนบาท (1 ล้าน / 10 = 1 แสน) ส่วนบริษัท B มี 100 หุ้นและกำไรสุทธิ 1 ล้านบาท EPS ก็จะเท่ากับ 1 หมื่นบาท (1 ล้าน / 100 = 1 หมื่น)
จะเห็นได้ว่า EPS ของบริษัท A นั้นมากกว่าบริษัท B แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าบริษัท A จะดีกว่า! EPS มีประโยชน์สำหรับการเปรียบเทียบบริษัทที่อยู่ในหมวดธุรกิจเดียวกัน แต่มันไม่ได้บอกว่าหุ้นของบริษัทเป็นหุ้นที่ดีและสมควรซื้อแต่อย่างใด เราต้องใช้อัตราส่วนและปัจจัยอื่น ๆ ประกอบการพิจารณาต่อไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น P/E Ratio ที่ใช้ค่า EPS ในการคำนวณ


http://hoondb.com/%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99-earning-per-share/

ราคาปิดต่อกำไรสุทธิ (P/E Ratio) คืออะไร

ราคาปิดต่อกำไรสุทธิ (P/E Ratio) อาจจะเป็นอัตราส่วนที่โด่งดังและรู้จักกันมากที่สุดก็ว่าได้ มีนักลงทุนที่มีชื่อเสียงมากมายที่ใช้อัตราส่วนนี้ในการเลือกหุ้น

ก่อนที่เราจะขยายความว่าอัตราส่วน P/Eของแต่ละบริษัททำไมจึงแตกต่างกัน เรามาทำความเข้าใจกับความหมายของมันกันก่อนดีกว่าครับ

P/E Ratio คือ ราคาต่อหุ้น(Price per share) หารด้วย กำไรสุทธิต่อหุ้น(Earning per share) โดยตัวกำไรได้มาจากกำไรของบริษัทในรอบ12เดือนล่าสุด

ตัวอย่าง

บริษัท เชอร์วู้ด เคมิคอล จำกัด (มหาชน): SWC

งบปีสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2010 SWCมีกำไรทั้งสิ้น76,784,576.15บาท และจำนวนหุ้นสามัญที่อยู่ในตลาดหุ้นทั้งหมด150,000,000หุ้น เพราะฉะนั้น

กำไรต่อหุ้น (EPS) = 76,784,576.15บาท/150,000,000หุ้น = 0.51 บาทต่อหุ้น

ณ สิ้นปี 2010 ราคาของSWCอยู่ที่5.20ต่อหุ้น เพราะฉะนั้น

ราคาปิดต่อกำไรสุทธิ (P/E) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2010 = 5.20บาท/0.51บาท = 10.19

P/E = 10.19 แปลว่าอะไร?

ถ้าแปลแบบสั้นๆ รวดเร็วทันใจ เราก็จะได้ความหมายว่า ถ้าเราจะซื้อSWCเมื่อปลายปี2010 เราต้องซื้อบริษัทดังกล่าวที่ราคาเป็นสิบเท่าของกำไร(ต่อหุ้น)สิบสองเดือนล่าสุด

ถ้าตีความให้ละเอียดขึ้นเราก็จะได้ความหมายว่า สมมุติว่ากำไรของบริษัทอยู่คงที่ไปเรื่อยๆ เราต้องรอเป็นเวลา10ปี กว่าบริษัทจะทำกำไรให้เราได้เท่ากับมูลค่าเงินที่เราจ่ายเพื่อซื้อบริษัทในตอนแรก

คำถามคือ ทำไมบางบริษัทมีP/Eที่สูงกว่าบริษัทอื่นๆ ทำไมนักลงทุนถึงยอมจ่ายราคาหุ้นที่มีมูลค่าเป็นหลายๆเท่า อย่างเช่น20-30เท่า ของกำไรต่อปี ในเมื่อหลายๆบริษัทก็ถูกขายอยู่ที่P/Eแค่10หรือต่ำกว่า อย่างSWCเป็นต้น แบบนี้ คนซื้อ TF : บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ไม่ต้องรอกันเป็น20ปีเลยเหรอกว่าจะคุ้มค่าเงินที่ลงทุนไป (ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2011 P/E ของTF อยู่ที่20.96)


จริงๆแล้ว P/E จะสูงจะต่ำ ขึ้นอยู่กับสามปัจจัยดังต่อไปนี้ คือ

1. ความคาดหวังของอัตราการเติบโตของกำไรที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ถ้าตลาดคาดหวังว่า บริษัทใดบริษัทหนึ่งจะมีการอัตราการเติบโตที่สูงมากๆ เช่นประมาณ30%ต่อปีในทุกๆปีของ5ปีข้างหน้า ตลาดก็จะให้P/Eกับหุ้นตัวนี้สูงมาก แต่ถ้าบริษัทไหนไม่น่าจะโตได้มากมาย P/Eก็จะต่ำ
สมมุติว่ามีหุ้นอยู่สองตัว หุ้นของบริษัทA และหุ้นของบริษัทB

บริษัทAเป็นบริษัทขายน้ำเปล่าทั่วไป อนาคตก็ดูธรรมดาไม่มีท่าทีว่าจะขยายตลาดไปต่างประเทศ หรือแย่งตลาดจากคู่แข่งมาได้ ตลาดจึงมีความคาดหวังกับอัตราการเติบโตของบริษัทที่ค่อนข้างต่ำ หรือ ประมาณอัตราการขยายตัวของGDPในแต่ละปี ซึ่งเท่ากับ3%-6%

บริษัทBเป็นบริษัทขนส่งมวลชน คือ รถไฟฟ้า ซึ่งนักลงทุนส่วนใหญ่คาดว่า จะมีอัตราการเติบโตที่ดี เพราะกรุงเทพฯนับวันก็จะยิ่งรถติด คนต้องหันมาใช้รถไฟฟ้าเยอะขึ้นแน่นอน ตลาดจึงมีความคาดหวังสูงว่าอย่างน้อยๆในอนาคต บริษัทนี้ต้องโตประมาณ30%ต่อปีไปอีกนาน

ถ้าสมมุติต่อว่า จากจุดเริ่มต้น หุ้นสองตัวนี้มีกำไรต่อหุ้นเท่ากัน และราคาต่อหุ้นเท่ากัน จนทำให้หุ้นทั้งสองตัวมีP/E = 15 พอเวลาผ่านไป นักลงทุนเริ่มคาดเดาว่า บริษัทAจะโตค่อนข้างช้า บริษัทBจะโตเร็วมากๆ จากความคาดหวังดังกล่าว นักลงทุนจึงเทขายหุ้นAจนราคาปรับตัวลง และแย่งกันซื้อหุ้นBจนราคาปรับตัวขึ้น จนสุดท้าย ความคาดหวังนี้ถูกสะท้อนในP/E คือ หุ้นA มีP/Eเหลือแค่6 แต่หุ้นBกับมีP/Eสูงถึง40

คนที่ยอมซื้อหุ้นBที่P/Eเท่ากับ40นั้นก็คงจะให้เหตุผลว่า "กำไรในอดีตไม่สำคัญ สำคัญที่กำไรในอนาคต วันนี้อาจจะดูเหมือว่าผมจ่ายแพงเกินไปเหมือนเปรียบเทียบกำไรในช่วง12เดือนที่ผ่านมา แต่จริงๆแล้วผม"ซื้อกำไรในอนาคต"ซึ่งจะสูงกว่ากำไรในอดีตมาก" คนที่เลือกที่จะมองมุมนี้ อาจจะพูดได้ว่าP/Eเท่ากับ40นั้นไม่ได้ถือว่าแพง เพราะฉะนั้น การที่นักลงทุนส่วนใหญ่หรือตลาดยอมจ่ายP/Eสูงๆก็เพราะความคาดหวังที่ว่าบริษัทจะมีอัตราการเติบโตที่สูงมากในอนาคตนั้นเอง

2. ความแน่นอนของอัตราการเติบโตที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ความคาดหวังของอัตราการเติบโตเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้น อีกปัจจัยหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับปัจจัยแรกโดยตรง คือความไม่แน่นอนหรือความเสี่ยงของอัตราการเติบโตที่จะเกิดขึ้น

ถ้าสมมุติว่า มีอยู่บริษัทหนึ่งมีอนาคตที่ดูดี น่าจะมีอัตราการเติบโตที่สูง เพราะบริษัทพึ่งได้ลูกค้าเพิ่ม และอยู่ในช่วงขยับขยายโรงงาน แต่ว่าบริษัทดังกล่าวอยู่ในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงมากและมีอัตราการเติบโตที่ไม่แน่ไม่นอน แกว่งไปมาตามเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก เพราะฉะนั้น ถึงแม้ว่าอนาคตอาจจะมีโอกาสไปได้สวย ความเสี่ยงที่มีค่อนข้างสูงนั้นจะเป็นตัวกดให้P/Eนั้นต่ำลงกว่าบริษัทที่มีอัตราการเติบโตที่แน่นอนกว่า

3. ความต้องการเงินทุนเพิ่ม

บริษัทที่เติบโตได้โดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนเพิ่มมากนักก็จะมีเงินเหลือให้เจ้าของบริษัทเยอะ บริษัทไหนต้องอาศัยการลงทุนเพิ่มมากๆเพื่อบรรลุเป้าหมายในการทำให้กำไรโตขึ้น ก็จะเหลือเงินให้เจ้าของน้อย เพราะกำไรที่ได้มาก็จะถูกดูดกลับไปลงทุนเพิ่มหมด หรือ เรียกได้ว่า "โตไปก็ไร้ค่า" สำหรับผู้ที่หุ้น

เพราะฉะนั้น บริษัทที่โตได้โดยไม่ต้องอาศัยแหล่งเงินทุนเพิ่มมากนัก ก็จะมีP/Eที่สูงกว่า บริษัทที่จะเติบโตที่ไร ต้องใช้เงินขยายกิจการจำนวนมหาศาลทุกทีไป



มาถึงตรงนี้ ผู้อ่านก็คงเข้าใจความหมายของP/E และที่มาที่ไปแล้วว่า ทำไมP/Eบางบริษัทถึงสูงกว่าบริษัทอื่นๆ ในบทความต่อไป (Price-to-Earning Ratio: Part II) เราจะมาดูกันนะครับว่าเราจะนำP/Eไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง


ที่มา http://settalk.blogspot.com/2011/11/price-to-earning-ratio-part-i.html